เทคนิคการนำเสนอจะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อผู้ฟังเกิดการยอมรับ และพึงพอใจ จึงต้องใช้วิธีการสร้างสรรค์งานโฆษณา ซึ้งเป็นกระบวนการสื่อสารข้อมูลข่าวสารเพือให้เกิดผลอิทธิพลต่อจิตใจ ความเชื่อและทัศนคติ
แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างสรรค์งานโฆษณา
การสร้างสรรค์งานโฆษณา เป็นการคิดค้นสร้างสรรค์งานโฆษณาเพื่อให้ข่าวสาร หรือโน้มน้าวใจ ให้กลุ่มเป้าหมาย เกิดความอยากได้และทดลองใช้ สินค้าที่โฆษณา หรือเป็นการส่งข้อมูล แนวความคิดหรือเรื่องราวต่าง ๆ ไปยังผู้รับสาร ด้วยวิธีการรูปแบบที่ไม่ธรรมดาบางครั้งบอกข่าวสารโดยอ้อม บางครั้งอาจจะใช้วิธีบอกข่าวสารโดยตรง
โฆษณาถือได้ว่า มีความคิดสร้างสรรค์ (Creative Advertising) คือโฆณาที่เข้าใจและคำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก
การสร้างสรรค์งานโฆษณา คือความตรงประเด็น มีเอกลักษณ์สร้างผลกระทบที่ดี มีความเข้าใจง่าย ชัดเจนน่าเชื่อถือ มีเหตุผลและสร้างอารมณ์ วางตำแหน่งครองใจ ชัดเจน แปลกใหม่ จุดขายเด่นชัด สินค้าได้ใช้ระยะยาว โดยอาศัยลีลา ความพร้อมของอารมณ์ และสิ่งจูงใจ ผสานด้วยเทคนิคการนำเสนองานโฆษณารูปแบบต่าง ๆ มาจูงใจกลุ่มเป้าหมาย
วัตถุประสงค์ ให้ประสบผลสำเร็จ
1. การวางกลยุทธ์ในการสร้างสรรค์ (Creative Strategr)
2. การนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ในโฆษณา (Creative Executive)
3. การสร้างสรรค์ผลงานให้โดดเด่น มีประสิทธิภาพและเหมาะสม (Creative work)
การวางกลยุทธ์ในการสร้างสรรค์(Creative strategy)
หมายถึง การสร้างความใหม่ เอกลักษณ์และความคิดที่เหมาะสมซึ้งใช้แก่ปัญหาในการติดต่อสื่อสาร ผู้ที่ทำงานสร้างสรรค์ จะต้องพิจารณาข่าวสารโฆษณาต้องใช้เวลา
แบบสรุปย่อทางการออกแบบ (Advertising Brief)

ชื่อ Title มาม่า
ข้อมูลเบื่องต้น
มาม่า เป็นยี่ห้อ และเครื่องหมายการค้าของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผลิตโดยบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) และจัดจำหน่ายโดยบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด
มาม่าได้มีการผลิตครั้งแรกในปี พ.ศ. 2516 แม้ว่าจะมีบะหมี่สำเร็จรูปยี่ห้ออื่นอีกในตลาดของประเทศไทย เช่น ยำยำ ไวไว กุ๊งกิ๊ง และอื่นๆเป็นต้น และ "มาม่า" ได้กลายเป็นชื่อที่ติดปากของคนไทยในการกล่าวถึงบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
มาม่าได้มีการผลิตครั้งแรกในปี พ.ศ. 2516 แม้ว่าจะมีบะหมี่สำเร็จรูปยี่ห้ออื่นอีกในตลาดของประเทศไทย เช่น ยำยำ ไวไว กุ๊งกิ๊ง และอื่นๆเป็นต้น และ "มาม่า" ได้กลายเป็นชื่อที่ติดปากของคนไทยในการกล่าวถึงบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2515 ด้วยทุนจดทะเบียน 6 ล้านบาท ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่าง บริษัทเพรซิเดนท์ เอ็นเตอร์ไพรส์ ของใต้หวัน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการผลิตและบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด ซึ่งรับผิดชอบในด้านการตลาดและการจำหน่ายสินค้า มีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งเพื่อผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปภายใต้เครื่องหมายการค้า "มาม่า" โดยมีสำนักงานใหญ่แห่งแรกที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ และเปิดทำการโรงงานแห่งแรกที่เขตหนองแขม กรุงเทพฯ ซึ่งหลังจากการดำเนินธุรกิจปีแรกผ่านไป หุ้นทั้งหมดได้ถูกโอนไปยังผู้ถือหุ้นคนไทยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่มาจวบจนปัจจุบัน
ข้อมูลเบื่องต้น
S = Strength จุดแข็ง
สะดวกกับยุคปัจจุบ้น มีหลากหลายรสชาติ
W = Weakness จุดอ่อน
มีคู่แข็งเยอะ ไม่ค่อยปรับปรุงตัวผลิตภัณฑ์
O = Opportunity โอกาส
ปัจจุบันมีผู้บริโภคที่ทำงานเกินเวลา หรือกลับบ้านดึก จะนึกถึงมาม่าเป็นอันดับแรก เพราะง่ายต่อการรับประทาน หาได้ง่าย สะดวกแก่เวลา
T = Threat ผลกระทบ
จะไม่ค่อยปรับปรุงตัวผลิตภัณฑ์มากเท่าไหร่ ผู้บริโภคบางครั้งอาจจะเบื่อรสชาติเดิม ๆ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อต้องการที่จะให้ผู้บริโภคได้รับสิ่ง ๆดี ที่ผู้บริโภคได้บริโภคเข้าไป
2. เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับข่าวสารของผลิตภัณฑ์มาม่าอย่างถูกต้อง
กลุ่มเป้าหมายหลัก
ประชาชนทั่วไป นิสิต นักศึกษา ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ที่ชื่นชอบผลิตภัณฑ์มาม่า

Concept
อร่อย แซบสะใจ
Support
มาม่าไม่ว่ารสชาติไหน ก็อร่อย แซบสะใจ
Mood&tone / Personality
Small กระทัดรัดพกพาง่าย มีแบบซอง กระป๋อง

Beautiful รูปแบบของซองที่สวยงาม หลากหลายรูปแบบ

Delicise อร่อย แซบสะใจ

Desired response
กลุ่มเป้าหมายรับรู้ถึงรสชาติที่หลากหลาย ทุกรสชาติอร่อย แซบสะใจ